วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556


บทที่ สื่อการสอนและประเภทอุปกรณ์

             
      สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือสื่ออุปกรณ์ที่เรียกว่า
โสตทัศนูปกรณ์               มีหน้าที่หลักคือ การแสดงเนื้อหาที่เป็นภาพและตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่และเสียงที่ดังที่เหมาะสม เครื่องมือระดับพื้นฐานที่มีใช้อยู่ทั่วไปจนถึงเครื่องมืออุปกรณ์รุ่นใหม่ โดยแยกเป็น ประเภท ได้แก่
            เครื่องฉาย เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียงเครื่องฉายเครื่องฉาย เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ เครื่องฉายที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องฉายสไลด์
            นอกจากนนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายภาพได้หลายรูปแบบ เช่น เครื่อง
วิชวลไลเซอร์ส่วนประกอบของเครื่องฉายเครื่องฉายทุกชนิดที่ไม่ใช่เครื่องฉายแปลงสัญญาณมีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง วัสดุฉาย และจอหลอดฉาย เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์ ให้ภาพปรากฏบนจอ ซึ่งมีด้วยกัน หลอดหลอดอินแคนเดสเซนต์ เป็นหลอดฉายแบบเก่ามีขนาดใหญ่ ภายในบรรจุด้วยไนโตรเจน หรือ อาร์กอน ไส้หลอดทำด้วยทังสเตนให้ความร้อนสูงหลอดฮาโลเจน มีขนาดเล็กกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ ตัวหลอดทำด้วยหินควอร์ทซ์ ทนความร้อนได้ดี ภายในหลอดบรรจุด้วยสารฮาโลเจนและไอโอดีน ให้แสงสว่างขาวนวลสดใสหลอดซีนอนอาร์ค มีลักษณะ เป็นหลอดยาวตรงกลางโปร่งออก ภายในบรรจุด้วยก๊าซซีนอน ใช้กับการฉายในระยะใกล้ๆ ให้เห็นภาพขนาดใหญ่ ๆแผ่นสะท้อนแสง
            ทำหน้าที่ สะท้อนแสงจากด้านหลังของหลอดฉาย ไปรวมกับแสงด้านหน้า ทำให้ความเข้มข้นของแสงเพิ่มขึ้นเป็น เท่าลักษณะของแผ่นสะท้อนแสง
            ทำด้วยโลหะฉาบผิวด้วยวัสดุสะท้อนแสง เช่น เงิน หรือ ปรอทวัสดุฉาย เป็นวัสดุรองรับเนื้อหาความรู้ไว้ในรูปของรูปภาพ ตัวอักษร และ สัญลักษณ์
           วัสดุฉายต้องใช้ควบคู่กับเครื่องฉายเสมอ ได้แก่ ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นโปร่งใส รูปภาพทึบแสง วัสดุฉายมีหลายชนิดวัสดุโปร่งใส หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้โดยไม่เกิดการหักเหหรือสะท้อนภายในวัสดุนั้น
            วัสดุโปร่งแสง หมายถึง วัสดุที่แสงสามารถส่องผ่านได้ แต่จะเกิดการหักเหบ้างหมายถึง วัสดุที่แสงไม่สามารถส่องผ่านได้เลย แสงสว่างที่ตกกระทบบนวัสดุจะสะท้อนกลับทั้งหมด

        1. 
เลนส์ เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่วไป ทำด้วยแก้วหรือ พลาสติกใส
              .
มีคุณสมบัติหักเหแสงที่สะท้อนมากระทบเลนส์ทำให้ภาพถูกขยายเลนส์ ในเครื่องฉายมี ชุด คือ เลนส์ควบคุมแสง และเลนส์ฉาย1.1จอ เป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่างๆ
                  1.1.1 
ชนิดของจอ จำแนกได้เป็น ชนิด คือ จอทึบแสง และจอโปร่งแสง
                           1.1.1.1 
จอทึบแสง เป็นจอที่รับภาพจากด้านหน้าจอ จะฉาบผิวหน้าจอด้วยวัสดุที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสงต่างๆ
                           1.1.1.2 
จอพื้นทรายแก้ว ผิวหน้าจอฉาบด้วยเม็ดแก้วละเอียด ทำให้สะท้อนแสงได้ดีมาก และได้ไกล จอชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับฉายในห้องแคบๆ
                         1.1.1.3 
จอผิวเรียบหรือจอผิวเกลี้ยง ผิวหน้าของมีสีขาวเรียบแต่ไม่เป็นมัน ให้แสงสะท้อนปานกลาง จอนี้จึงเหมาะสำหรับฉายในห้องที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัตหรือ ห้องเรียนทั่วๆไป สามารถมองเห็นตัวอักษรได้ชัดเจน
                         1.1.1.4 
จอเงิน ทำด้วยพลาสติกหรืออลูมิเนียมใช้ในการฉายภาพสีและวัสดุ 3มิติ
                         1.1.1.5 
จอเลนติคูล่า มีผิวจอทำด้วยพลาสติกที่เรียกว่า เฮฟวี่พลาสติก เหมาะกับห้องกว้างและขนาดใหญ่
                         1.1.1.6 
จอเอ็คต้าไลท์ ทำด้วยโลหะหรือไฟเบอร์กลาส น้ำหนักเบา ผิวโค้ง สีมุกเป็นมันสะท้อนแสงได้ดี ใช้ในห้องที่มีแสงสว่างตามปกติได้ แต่ไม่เหมาะกับเครื่องฉายข้ามศีรษะ
                        1.1.1.7 
จอโปร่งแสง เป็นจอที่ทำจากวัสดุโปร่งแสง ฉายในห้องที่มีแสงสว่างปกติได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า จอฉายกลางวัน
                1.1.2 
การติดตั้งจอ ลักษณะของภาพที่ปรากฏบนจอจะส่งผลต่อการรับรู้และเจตคติของผู้ชม
                  การติดตั้งจอให้มีประสิทธิภาพควรยึดหลักดังนี้ คือ
                 ไม่ควรให้แสงสว่างผ่านเข้าด้านหลังจอโดยตรง
                  ขอบด้านล่างของจอควรอยู่ระดับสายตาของผู้ชม
                  จอกับเลนส์ควรอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากซึ่งกันและกัน
                  ไม่สูงไม่ต่ำ ไม่เยื้องซ้าย เยื้องขวา กับเครื่องฉาย
               1.1.3 
ปัญหาการติดตั้งจอไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้รูปที่ปรากฏมีลักษณะบิดเบี้ยว สัดส่วนผิดแปลกจากธรรมชาติ
   2. 
ประเภทของเครื่องฉาย
         2.1 
เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องมือที่ใช้กับผู้เรียนการสอนมาเป็นเวลานานมีหลายรูปแบบ
                2.1.1 
ส่วนประกอบของเครื่องฉายข้ามศีรษะ มี ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนประกอบภายใน และส่วนประกอบภายนอก
                    2.1.1.1 
ส่วนประกอบภายนอก
                          ซึ่งประกอบด้วย
                                1. 
ตัวเครื่องฉาย มีลักษณะเป็นกล่อง ทำด้วยโลหะ ด้านบนเป็นแผ่นกระจกสำหรับวางวัสดุฉาย มุมด้านบนสำหรับสำหรับติดตั้งหัวฉาย ด้านหลังมีสายไฟและสวิตช์ควบคุมการทำงาน
                               2. 
แขนเครื่องฉายและหัวฉาย เป็นเสาประกบติดกับเครื่องฉาย มีไว้สำหรับยึดหัวฉายซึ่งสามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้ด้วยปุ่มหมุนที่มีแกนเป็นเฟือง
                               3. 
อุปกรณ์การฉายพิเศษ เทคนิคการนำเสนอแผ่นโปร่งใสแบบวัตถุเคลื่อนไหว หรือ เรียกว่า โพลาไรซิ่ง ทรานสพาเรนซี่
                                4.
แท่นวางวัสดุฉาย เป็นแผ่นกระจกใสวางในระนาบแนวนอนอยู่เหนื่อเลนส์ควบแสงหรือเลนส์เกลี่ยแสงซึ่งอยู่ในเครื่องฉาย
                                5.
เลนส์ฉาย เป็นเลนส์นูนที่อยู่ในหัวฉายทำหน้าที่ ขยายภาพตัวอักษรหรือวัสดุฉายอื่นๆ ให้มีขนาดใหญ่ไปปรากฏที่จอ
                                6. 
กระจกเงาระนาบ เป็นกระจกเงาทำมุมเอียง 45องศา ทำหน้าที่รับภาพจากเลนส์เกลี่ยแสง
                 2.1.1.2 
ส่วนประกอบด้วยส่วนต่างๆ                                                                                                                                                                                            1.หลอดฉาย เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ติดตั้งไว้ในเครื่องฉาย ซึ่งมักทั่วไปเป็นหลอด ฮาโลเจน
2. 
แผ่นสะท้อนแสง ทำหน้าที่ หักเหแสงออกทางด้านหลังของหลอดฉายให้กลับไปด้านหน้า ทำให้แสงมีความเข้มข้นมาก                   3. เลนส์เกลี่ยแสง เป็นกระจกหรือพลาสติกใสมีร่องขนาดเล็กเต็มทั่วแผ่น
4. 
สะท้อนไปที่เลนส์ฉายต่อไป
5. 
กระจกเงาสะท้อนแสง เป็นกระจกเงาติดตั้งไว่ภายในเครื่องฉาย เพื่อรับแสงจากหลอดฉาย
6. 
พัดลม ทำหน้าที่ ระบายความร้อนให้กับหลอดฉาย เรียกว่า เทอร์โมสตัท
     2.2 
เครื่องฉายสไลด์ เป็นทัศนูปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
          2.1.1 
ประเภทของเครื่องฉายสไลด์ มี ประเภท ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์แบบฉายทีละภาพ และเครื่องฉายสไลด์แบบบรรจุภาพใส่ถาด
                2.2.1.1 
เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา อาศัยการทำงานด้วยการควบคุมจากผู้ใช้งานตลอดเวลา มีทั้งเครื่องขนาดเล็กและเครื่องขนาดมาตรฐานทั่วไป
                2.2.1.2 
เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ เป็นเครื่องที่ออกแบบให้ทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อสัญญาณกับเครื่องบันทึกเสียงแบบสัมพันธ์ภาพและเสียงหรือเครื่องควบคุมการฉายได้
         2.2.2 
ส่วนประกอบของเครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายสไลด์ทั่วไปมีส่วนประกอบที่สำคัญ ส่วน ได้แก่ ส่วนนอก และส่วนใน
                2.2.2.1 
ส่วนประกอบภายนอก ได้แก่ ตัวเครื่องฉาย ร่องใส่ถาดสไลด์ ปุ่มสวิตช์ปิด-เปิด ช่องเสียบสายไฟ และช่องใส่เลนส์
               2.2.2.2 
ส่วนประกอบภายใน ได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง เลนส์รวมแสง เลนส์ฉาย พัดลม สะพานไฟ
        .2.2.3 
ประเภทของถาดบรรจุภาพสไลด์ ถาดใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละชนิดจะถูกออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องฉายโดยเฉพาะ
               2.2.3.1 
ถาดสไลด์แบบเป็นราง ใส่ภาพสไลด์มีหลายชนิดแต่ละไม่เกิน ภาพ การเปลี่ยนภาพต้องใช้วิธี ดึงรางไปมาทิศทางซ้าย /ขวา รางแบบนี้ใช้กับเครื่องแบบเก่าซึ่งเป็นเครื่องขนาดเล็ก
              2.2.3.2 
ถาดสไลด์แบบรางแถวในกล่องสี่เหลี่ยม มีลักษณะคล้ายแถวขนนปัง บรรจุสไลด์ได้ครั้งละ 24 – 36ภาพ หรือมากกว่า การฉายต้องใส่รางเข้ากับด้านข้างของเครื่องฉาย รางแบบนี้สามารถบังคับให้เคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้
             2.2.3.3 
ถาดสไลด์แบบกลม เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สามารถบรรจุภาพสไลด์ได้ตั้งแต่ 80-140 ภาพ มีทั้งแบบวางเข้ากับเครื่องในแนวนอนด้านบนของเครื่องและวางแนวตั้งกับด้านข้างของเครื่อง ถาดสไลด์แบบนี้สามารถหมุนได้รอบตัว
     2.3
เครื่องฉายแอลซีดี เป็นเครื่องฉายที่มีประโยชน์ต่อการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้มากมีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อย
    2.4 
เครื่องดีแอลพี กิดานันท์มลิทอง ได้อธิบายถึงเครื่องดีแอลพีว่า เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณระบบดิจิทัล ลักษณะเดียวกับเครื่องแอลซีดีแต่มีความคมชัดสูงกว่า ให้ความคมชัดมากถึง 1280x1024เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณหน้าที่ของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากวัสดุและแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อแปลงกลับเป็นสัญญาณและเสียงประเภทของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
ปัจจุบันเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณทีหลายประเภท
             2.1 
เครื่องวิชวลไลเซอร์ เป็นเครื่องฉายแปลง ได้ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว หลักการทำงาน ของเครื่องวิชวลไลเซอร์คือ การแปลงสัญญาณภาพของวัตถุ
             2.2 
เครื่องเล่นวีดิทัศน์ หรือที่เรียกกันทัวไปว่าเครื่องเล่นวิดีโอ เป็นเครื่องแปลงสัญญาณแม่ดหล็กจากแถบเทปเป็นสัญญาณภาพและเสียงถ่ายทอดออกทางจอโทรทัศน์หรือผ่านเครื่องเล่นแอลซีดี เพื่อฉายภาพบนจอให้เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
                      2.2.1 
ประเภทของเครื่องเล่นวีดิทัศน์ ปัจจุบันเครื่องเล่นวีดิทัศน์ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้ามาก มีหลายรูปแบบซึ่งพอแบ่งอกเป็น ประเภท ได้แก่
                               2.2.1.1 
แบบยู-เมติก เป็นเครื่องเล่นระดับกึ่งมืออาชีพ หรือใช้ในระดับสถาบันการศึกษาและในสถานีโทรทัศน์
                               2.2.1.2
แบบวีเอชเอส เป็นเครื่องเล่นที่ใช้คามบ้าน ราคาถูก บรรจุในตลับเทปที่สามารถเล่นได้นานแตกต่างกัน
                               2.2.1.3
แบบเบต้า เป็นรูปแบบเฉพาะของบรัษัทโซนี คุณภาพของภาพดี และมีขนาดตลับเล็กกว่าแบบวีเอชเอสเล็กน้อย
                               2.2.1.4 
แบบดีวี เป็นการบันทึกภาพและเสียงด้วยระบบดิจิทัลทีมีความคมชัดเหมือนต้นฉบับ เพราะไม่มีการสูญเสียสัญญาณระหว่างการบันทึกและตัดต่อ โดยการใช้สายไฟไวร์ ซึ่งเป็นสายเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณดิจิทัลกับดิจิทัลโดยตรง ปัจจุบันระบบดีวีกำลังได้รับความนิยมสูง
                              2.2.1.5
แบบมินิดีวี เป็นระบบการบันทึก และเล่นภาพและเสียงด้วยระบบดิจิทัลเหมือน กับแบบดีวี แต่มีขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า ใช้กับกล้องดิจิทัลขนาดเล็ก
                  2.2.2 
การติดตั้งเครื่องเล่นเทปวีดิทัศน์ สามารถนำมาติดตั้งเชื่อมต่อเพื่อฉายภาพและเสียงกับอุปกรณ์ต่างๆได้ 3ประเภท ได้แก่
                            2.2.2.1 
เครื่องรับโทรทัศน์ธรรมดา ที่ใช้กันตามบ้านโดยการต่อสาย video out กับ audio out จากเครื่องเล่นเทปวิดีทัศไปยังช่อง video in และ audio in
                            2.2.2.2 
จอมอนิเตอร์ เป็นเครื่องที่ออกแบบมาเพื่อรับสัญญาณจากสายโดยตรง โดยมีสายสัญญาณภาพและสายสัญญาณเสียงอย่างละ สาย
                            2.2.2.3 
เครื่องรับโทรทัศน์และมอนิเตอร์ เป็นเครื่องที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้งานในลักษณะเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์
          2.3 
เครื่องเล่นวีซีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นซีดี ระบบดิจิทัล ที่บันทึกข้อมูลในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงแบบภาพวีดิทัศน์ เพื่อเสนอทางภาพจอโทรทัศน์
           2.4 
เครื่องเล่นดีวีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีระบบดิจิทัลเพื่อเสนอทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบภาพวีดิทัศน์และเสียงเพื่อฉายบนจอโทรทัศน์เครื่องเสียง1.แหล่งกำเนิดเสียง1.เสียง เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นส้เทือนจะจัดอากาศให่เป็นคลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียงส่วนประกอบของการขยายเสียงการขยายเสียงเป็นการแก้ไขข้อจำกัดของเสียงจากต้นกำเนิดเสียงที่มีเสียงเบาไม่สามารถรับฟังได้ในระยะไกล โดยใช้เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่แปรเปลี่ยนตามความถี่เสี่ยง แล้วขยายให้มีกำลังมากขึ้นหลายๆเท่า หรือบันทึกเก็บไว้ เพื่อนำมาแปลงให้กลับเป็นคลื่นเสียงทีหลังอีกก็ได้ เครื่องมือที่ทำ หน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า เครื่องเสียง เช่นเครื่องขยายเสียงเครื่องเล่นแผ่นเสียง และเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญมี ส่วนคือ
...........
ภาคสัญญาณเข้า
...........
ภาคขยายเสียง
               ภาคสัญญาณออกภาคสัญญาณเข้า ทำหน้าที่สร้างหรือนำสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ต้องการขยายมาป้อนกับภาคขยายเสียง ได้แก่ ไมโครโฟนภาคขยายเสียง ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้นเพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เกิดเสียงดังขึ้น ได้แก่ เครื่องขยายเสียงภาคสัญญาณออก ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ถูกขยายมาแล้วให้กลับเป็นคลื่นเสียง ได้แก่ ลำโพงไมโครโฟนไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงโดยอาศัยหลักการง่ายๆ คือ เมื่อคลื่นเสียงมากระทบ แผ่นสั่นสะเทือน ทำให้แผ่นสั่นสะท้อนสั่นตามความถี่และความแรงของคลื่นเสียง สัญญาณจากการสั่นสะเทือนจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงทันที การแปลงคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับรูปแบบหรือประเภทของโครโฟน1. ประเภทของไมโครโฟนเราสามารถจำแนกของไมโครโฟนได้ 2รูปแบบ คือ
......... 
การจำแนกตามลักษณะทิศทางของการรับเสียง
..........
และการจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำไมโครโฟนการจำแนกลักษณะทิศทางของการรับเสียงของไมโครโฟนมี 4ชนิด คือ
.......
โอมนิไดเร็กชั่นแนลไมโครโฟน เป็นไมโครโฟนที่มีมุมรับเสียงได้รอบทิศทาง 360 องศา
........
ยูนิไดเร็กชั่นแนลไมโครโฟน สามารถรับเสียงได้จากทางด้านหน้าทิศทางเดียว โดยมุมรับไม่เกิน 180 องศา
........
คาร์ไดโอดส์ไมโครโฟน รับเสียงได้ด้านหน้าทิศทางเดียวโดยบริเวณรับเสียงมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ
.........
ไบไดเร็กชั่นแนลไมโครโฟน รับเสียงได้เฉพาะด้านหน้ากับด้านหลัง โดยมุมรับแต่ละข้างไม่เกิน 60 องศาการจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำไมโครโฟนมี ชนิดคือไมโครโฟนใช้ผงถ่าน เป็นส่วนประกอบสำคัญมีคุณภาพต่ำ มีความไวเสียงน้อย
                  
การใช้ไมโครโฟนให้ได้ผลดีควรพูดตรงด้านหน้าของไมโครโฟนให้ปากอยู่ห่าง ประมาณ 6-12นิ้ว การทดลองไมโครโฟนไม่ควรใช้วิธีเป่าหรือเคาะให้พูดออกไปได้เลยเครื่องขยายแสดงเครื่องขยายเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา กำลังขยายของเครื่องขยายเสียงมีหน่วยวัดเรียกเป็น วัตต์การทำงานของเครื่องขยายเสียงโดยปกติการทำงานของเครื่องขยายเสียงแบ่งออกเป็น ส่วน คือ
              ส่วนรับสัญญาณเข้าเพื่อการปรับแต่ง
               ส่วนขยายสัญญาณส่วนรับสัญญาณเสียงเข้าจากสัญญาณแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น ไมโครโฟน เครื่องเล่นซีดี เทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง สัญญาณจะถูกนำเข้ามาเพื่อการปรับแต่งให้เสียงเกิดความสมดุลตามความต้องการแล้วจึงนำไปขยายให้มีกำลังมากขึ้น เครื่องขยายเสียงส่วนนี้ จะมีช่องเสียง เพื่อนำสัญญาณเข้าส่วนขยายสัญญาณ เป็นส่วนรับเอาสัญญาณที่ปรับแต่งและขยายขั้นต้นแล้วมาขยายเสียงให้มีกำลังเพิ่มขึ้นตามความต้องการเพื่อส่งไปยังลำโพง ในเครื่องขยายชุดนี้จะสวิตช์และควบคุมด้านหน้าเครื่องดังนี้ สวิตช์สำหรับปิด/เปิด ปุ่มสำหรับควบคุมความดังเบาของสัญญาณเข้าแต่ละช่อง ปุ่มใหญ่สำหรับควบคุมเสียงดังเบาของสัญญาณเข้าทั้งหมดชนิดของเครื่องขยายเสียง เครื่องขยายเสียงพอจำแนกได้ ชนิด คือ
                เครื่องขยายเสียงหลอด เป็นเครื่องขยายเสียงแบบแรกที่สร้างขึ้นมาใช้ในการขยายเสียงให้มีเสียงดังมากๆ มีข้อดีทีบำรุงรักษาง่าย ทนทาน เสียงไม่ผิดเพี้ยนเครื่องขยายเสียงทรานซิสเตอร์ เป็นเครื่องขยายเสียงที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้ ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ขยายเสียงแทนหลอดสุญญากาศ ทำให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายสะดวกเครื่องขยายเสียงแบบผสม เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรผสมผสานในหลอด สุญญากาศทำให้เหมาะสมกับการใช้งาน และทำให้มีคุณภาพดีขึ้นเครื่องขยายเสียงแบบไฮบริดจ์ ไอ ซี เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรสำเร็จรูป ทำให้มีขนาดกระทะรัด ดูแลรักษาง่าย แต่ค่อนข้างบอบบางกว่าแบบอื่น และมีกำลังขยายไม่มากนักระบบของเครื่องขยายเสียง เครื่องขยายเสียงที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบันมี 2ระบบ คือระบบโมโน เป็นเครื่องขยายเสียงเครื่องเดียวที่หน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าจากต้นกำเนิดเสียงหลายๆ ชนิดรวมกันแล้วส่งไปออกที่ลำโพงตัวเดียว การขยายเสียงในระบบนี้อาจทำให้เสียงหักลบกันจนขาดความไพเราะหรือผิดเพี้ยนจากต้นเสียงเดิมระบบสเตริโอ เป็นระบบการขยายเสียงที่ใช้เครื่องขยายเสียงมากกว่าหนึ่งเครื่องไว้ในชุดเดียวกัน เพื่อรับสัญญาณไฟฟ้าจากต้นกำเนิดเสียงที่ต่างกันหลายๆแห่งเครื่องขยายเสียงระบบสเตริโอที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเป็นแบบสเตริโอ 2ทิศทาง คือมีเครื่องขยายเสียง 2เครื่องอยู่ในชุดเดียวกันมีส่วนรับสัญาณเข้าเป็นคู่ๆ นำไปขยายในเครื่องชุดที่ 1และชุดที่ 2แล้วส่งออกลำโพงชุดละตู้การใช้เครื่องขยายเสียง การใช้เครื่องขยายเสียงในการเรียนการสอนหรือการบรรยายในที่สาธารณะให้ประสิทธิภาพ ต้องตรวจให้แน่ชัดว่าเครื่องขยายเสียงนั้นใช้กับไฟชนิด AC หรือ DCกี่โวลต์ เลือกสัญญาณ input ให้เหมาะกับชนิดของแหล่งสัญญาณสัญญาณ ก่อนเปิดสวิตช์ให้ต่อวงจร input และoutput ที่ให้ค่าความต้านทานพอดีไมโครโฟนและลำโพง แล้วลดปุ่มควบคุมความดังของเสียงให้ต่ำสุด ถ้าเป็นเครื่องชนิดหลอด ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่อง 1-3นาที ให้หลอดร้อนพอที่จะทำงานได้ก่อนลำโพงลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นเครื่องเสียงปัจจุบันนิยมใช้ลำโพงชนิดขดลวดแม่เหล็ก ซึ้งทำงานโดยใช้วิธีการเหนียวนำแม่เหล็กไฟฟ้า คือ เมื่อสัญญาณไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเสียงของลำโพง จะทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กในขดลวด อำนาจแม่เหล็กจะตัดกับสนามแม่เหล็กถาวรที่ติดอยู่ในลำโพงทำให้ขดลวดเสียงเคลื่อนที่พาเอากรวยของลำโพงสั่นไปตามความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า ทำให้อากาศด้านหน้ากรวยสั่นสะเทือนเกิดเป็นเสียงขึ้นประเภทของลำโพง ลำโพงจำแนกตามสมบัติในเปล่งเสียงมี ประเภท คือ
          1.1
ลำโพงเสียงทุ้มเป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงต่ำๆประมาณ 30-500เฮิร์ทซ มีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางของกรวยลำโพง 10 นิ้วขึ้นไป
          1.2
ลำโพงเสียงกลาง เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงปานกลางประมาณ 500-8000 เอิร์ทซ ลำโพงประเภทนี้มีใช้ทั่วไปในเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องเสียงที่ไม่ต้องการคุณภาพนัก
           1.3
ลำโพงเสียงแหลม เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงสูงประมาณ 10 – 20 กิโลเฮิร์ทซมีขนาดเล็ก
           1.4 
ลำโพงกรวยซ้อน เป็นลำโพงที่ออกแบบพิเศษ โดยทำกรวยลำโพงซ้อนกัน 2-3ชั้น เพื่อในสามารถเปล่งเสียงที่มีความถี่ต่างๆ กันได้มากขึ้นในลำโพงตัวเดียวกันการใช้ลำโพง การใช้ลำโพงให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีในการใช้งานอยู่เสมอ ควรมีวิธีดังนี้คือ ต้องให้ค่าความต้านทานรวมของลำโพงเท่า หรือใกล้เคียงกับค่าความด้านทานของช่องสัญญาณออก ให้ค่าความต้านทานรวมของโพงเท่า หรือใกล้เคียงกับค่าความต้านทานของช่องสัญญาณออก ให้ค่ากำลังขยายของลำโพงเท่าหรือใกล้เคียงกับกำลังของเครื่องขยายเสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น